by Tom HastingsSeptember 21, 2021
This article is a translation of Tom Hastings, "Property Damage, Violence, Nonviolent Action, and Strategy" published on June 2, 2020 (available here); it is also available in Spanish here. Translation by Thammachart Kri-aksorn and reviewed by Janjira Sombatpoonsiri.
ทอม ฮาสติงส์ เขียน
ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวที่มีพลังอย่างมาก และกำลังสร้างแรงกดดันต่อพวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่เรียกร้องความยุติธรรมและขอให้ตำรวจหยุดเข่นฆ่าคนผิวสีที่ไร้อาวุธต่อสู้ กลุ่มที่เดือดร้อนอย่างมหาศาลจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่ถูกทำลายและปล้นสดมภ์ และกลุ่มที่เพียงหวาดกลัวแม้แต่จะออกไปไหนมาไหนในช่วงเวลานี้
หนึ่งในคำถามที่ค้างคามาตลอดคือเรื่องความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งเราเห็นว่าเกิดขึ้นในหลายๆ เมืองของสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้ ตามรายงานภาคสนามที่น่าเชื่อถือต่างๆ กลุ่มที่กำลังประท้วงอยู่บนท้องถนนแต่ละเมือง ส่วนมากแล้วไม่ใช้ความรุนแรง ทว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องสันติเสมอไป เพราะบ่อยครั้งส่งเสียงดังร้องเพลงหรือพูดตะโกน รวมถึงโกรธเกรี้ยวอย่างเห็นได้ชัดโดยที่มีมีเหตุผลให้โกรธเช่นนั้น เอาเขาจริงแล้วการก่อกวนขัดขวางเป็นหัวใจของการต่อต้านขัดขืนโดยพลเมืองตราบที่มันไม่กลายเป็นความรุนแรง
อย่างไรก็ตาม การวางเพลิงและการใช้ระเบิดต่างออกไป แม้จะไม่มีใครได้รับบาดเจ็บทันทีจากการกระทำดังกล่าว แต่ก็ยากจะรับประกันได้ เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำดังกล่าวไม่สามารถควบคุมผลได้ หลังจากที่จุดประกายขึ้น บางคนอาจเถียงว่าการกระทำดังกล่าวไม่ทำร้ายหรือมีเจตนาทำร้ายใคร จึงไม่ใช่ความรุนแรง อย่างไรก็ตาม จากมุมมองเชิงยุทธศาสตร์ การกระทะเช่นนั้นมีแนวโน้มลดการสนับสนุนจากสาธารณะต่อเป้าหมายนักกิจกรรม การกระทำเหล่านี้ยังทำให้สื่อมุ่งรายงานไปยังเหตุก่อกวนมากกว่าเน้นนำเสนอเป้าหมายของกลุ่ม อีกทั้งโดดเดี่ยวขบวนการจากสาธารณชน และผลักให้ผู้คนสนับสนุนมาตรการอันจำเป็นใดๆก็ตามของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อ “รักษาความสงบเรียบร้อย” นอกจากนี้ยังเพิ่มเอกภาพและความเชื่อฟังในกลุ่มกองกำลังความมั่นคงด้วย
ในบางที่ โดยเฉพาะหลังมืดแล้ว การจราจลมักจะปะทุขึ้น และมักเกิดการทำลายทรัพย์สิน ผู้คนทั่วสารทิศมีความเห็นหลากหลายต่อปรากฏการณ์นี้ ทว่าผมอยากให้ลองฟังความเห็นสั้น ๆ ของผมสักหน่อย เนื่องจากผมครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เมื่อเพื่อนของผมเผาบัตรเกณฑ์ทหารและทำลายแฟ้มเอกสารของสำนักงานเกณฑ์ทหาร (Selective Service) เพื่อกันมิให้กองทัพส่งเยาวชนชายไปฆ่าคนและตายในสงครามอันโง่เขลาในเวียดนาม
ผมครุ่นคิดถึงการทำลายทรัพย์สินยิ่งขึ้นอีก เมื่อครูของผมใช้ค้อนทุบฐานอาวุธนิวเคลียร์ต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ให้หยุดใช้อาวุธสงคราม ผมเดินตามรอยพวกเขาและครุ่นคิดเกี่ยวกับมันขณะที่จับขังเพราะการกระทำเหล่านี้
ศาลตัดสินว่าผลมีความผิดในข้อหาทำลายทรัพย์สิน 3 ครั้ง และทั้ง 3 ครั้งผู้พิพากษาและคณะลูกขุนต่างเห็นว่าการกระทำของผมอาจจะผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช้ความรุนแรง
มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 อย่างในแนวคิดของผมเมื่อการทำลายอะไรบางอย่างอาจเป็นประโยชน์ในการรณรงค์แบบไม่ใช้ความรุนแรง
1. เมื่อไม่มีทรัพย์สินของปัจเจกบุคคลหรือเอกชนถูกทำลาย
2. เมื่อทรัพย์สินที่ถูกทำลายเป็นภัยคุกคามต่อผู้อื่น
3. เมื่อแกนนำผู้จัดกิจกรรมเห็นชอบให้จัดกิจกรรมดังกล่าวล่วงหน้า
4. เมื่อไม่มีการทำลายทรัพย์สินในบริบทของกิจกรรมสาธารณะ เว้นแต่กว่ามีการประชาสัมพันธ์การกระทำดังกล่าวล่วงหน้า
5. เมื่อขบวนการโปร่งใสในการกระทำของตัวเองอย่างแท้จริงคำอธิบายเหตุผลรองรับการกระทำดังกล่าวอย่างชัดเจนและทำซ้ำๆ ในพื้นที่สาธารณะ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าตนยึดมั่นในยุทธศาสตร์ไร้ความรุนแรง
การถูกดำเนินคดี 2 ครั้งของผมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคันไถ (หรือ Plowshare Movement) ซึ่งปัจเจกบุคคลและคนกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้อุปกรณ์ทางทหารไม่สามารถใช้งานได้ โดยมีเจตจำนงค์เพื่อ “ตีดาบเป็นคันไถ (hammer swords into plowshares)” เหมือนในรูปปั้นเลื่องชื่อที่ตั้งอยู่ด้านนอกอาคารองค์การสหประชาชาติ และให้สอดคล้องต่อคำสอนของพระคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์
ในคดีแรก ผู้พิพากษาชื่นชอบผมและโดยสรุปแล้วได้ตัดสินให้ผมรอลงอาญา
ในคดีที่สอง ผู้พิพากษาค่อนข้างมีอุดมการณ์ขวา ทว่าเขาก็ยังกล่าวในช่วงญัตติรับฟังก่อนการไต่สวนว่า เขาเหนื่อยที่จะรับฟังผมอธิบายแล้วว่าทำไมการเลื่อยเสาขนาด 50 ฟุต และการทำให้เสาอากาศหนาล้มลงมาบนพื้นเป็นการไม่ใช้ความรุนแรง โดยยอมรับว่า “เราทุกคนรู้แล้วว่ามันเป็นการไม่ใช้ความรุนแรง”
วัตถุประสงค์ของเสาอากาศดังกล่าวมีไว้เพื่อสั่งการเปิดฉากสงครามนิวเคลียร์ เราสองคนตัดความเป็นไปได้นั้นทิ้งจริงๆ แต่เนื่องจากเราทุกคนต่างรู้ว่าเจ้าหน้าที่จะซ่อมเสาได้เร็ว การตัดเสาจึงเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์มากกว่า กรณีนี้ก่อให้เกิดการศึกษาเชิงสาธารณะอย่างมาก และเท่าที่ประเมินแล้วประชาชนจำนวนมากเห็นด้วยกับการกระทำของเรา
ผมเปิดเผยและโปร่งใสอย่างมากในทั้ง 3 กรณี ผมล้มเสา 2 ครั้ง (ในปี 1985 และ 1996) และอีกครั้งหนึ่งเป็นกรณีที่เบากว่ามาก โดยผมพ่นสีใส่ป้ายที่ศูนย์บัญชาการเดิม โดยผมส่งใบแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจล่วงหน้าด้วยว่าจะทำ โดยผมรวมพวกเขาอยู่ในรายชื่อคนที่ต้องแจ้งข่าวกิจกรรมด้วยเสมอ เนื่องจากฐานทัพดังกล่าวดำรงอยู่ด้วยวัตถุประสงค์เดียวคือเปิดฉากสงครามนิวเคลียร์ ผมจึงพ่นสีข้อความเป็นคำเตือน อีกครั้งที่ความโปร่งใส การเน้นย้ำว่าผมไม่ใช้ความรุนรง และโดยเฉพาะการสื่อสารกับสาธารณะเพื่ออธิบายเหตุผลในการกระทำของตนสำคัญอย่างมาก
วิธีเหล่านี้ได้ผล เราปิดฐานทัพดังกล่าวได้สำเร็จ อำนาจที่แท้จริงจากความพยายามของเราคือแนวร่วมที่เราสร้างขึ้น ปฏิบัติการของขบวนการคันไถเป็นเพียงหนึ่งในความพยายามหลากหลายมิติของแคมเปญต้านการใช้อาวุธสงคราม และผมทุ่มเทกับการเตรียมกิจกรรมนี้กับแกนนำทั้งหมดล่วงหน้า เราเห็นแย้งกันอย่างมากตอนเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ 2 วันให้หลัง ทั้ง 18 คนในกลุ่มก็ตกลงได้ว่าชอบกิจกรรมไหน ฉะนั้นผมจึงไม่ได้ตัดสินใจเพียงลำพัง ผู้เกี่ยวข้องในแคมเปญนี้ตกลงยินยอมให้จัดกิจกรรมดังกล่าว โดยไม่มีใครสั่งใครและทุกคนรู้สึกถูกรับฟังและให้ค่า
กลับมาสู่ปัจจุบันอย่างรวดเร็ว...
การทำลายร้านค้ามากมายในปัจจุบัน รวมไปถึงร้านที่ชนกลุ่มน้อยเป็นเจ้าของ ยากจะอธิบายได้ เว้นเสียแต่ว่าบางส่วนของคำอธิบายนี้จะเกี่ยวข้องกับมือที่สามที่พยายามยั่วยุเพื่อให้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆแย่ลง ภารกิจของพวกเขาคือทำลายภาพลักษณ์ของผู้ประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรงและโดดเดี่ยวจากสาธารน พร้อมที่ทำให้ประชาชนรู้สึกขอบคุณ “ผู้พิทักษฺสันติรากษฎร์” ที่คอยปกป้องพวกเขาจากเหล่า “อันพาล” ในกลุ่มฝูงชนที่บ้าคลั่ง
เราสามารถทำอะไรได้บ้าง
จากพลวัตข้างต้น เราจึงเน้นย้ำเรื่อยๆว่าวินัยในปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรงสำคัญ อีกทั้งยังต้องแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการทำลายทรัพย์สินอันมาจากคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง และการส่งทีมดูแลความเรียบร้อยลงพื้นที่อย่างทั่วถึงเพื่อลดระดับความรุนแรงและอธิบายสิ่งที่ผู้จัดแคมเปญร้องขอ แม้การรักษาวินัยของปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรงสำคัญในทุกช่วงของแคมเปญ แต่จะดีที่สุดเมื่อเตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยรู้ว่าการยึดมั่นในวิธีการแบบไม่ใช้ความรุนแรงที่แสดงออกต่อประชาชนอย่างเปิดเผย การฝึกฝน และการแถลงต่อสารธารณชนให้เห็นถึงการยึดมั่นดังกล่าว สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้พวกเขาได้เมื่อต้องเจอกับมือที่สามที่เข้ามายั่วยุ ผู้ฉวยโอกาส หรือนักกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในความรุนแรง
นอกจากนี้ เรายังจำเป็นต้องทำงานกับสื่อเพื่อวางบริบทแก่กิจกรรมของเรา และฝึกพวกเขาให้รายงานข่าวอย่างเที่ยงตรงด้วยว่าการทำลายทรัพย์สินของคนไม่กี่คนนั้นไม่สอดคล้องกับเจตนาของคนจำนวนมากที่ไม่ต้องการใช้ความรุนแรง เช่น ถ้าแกนนำประกาศว่าการประท้วงจะจัดขึ้นเพียงสามชั่วโมงเท่านั้นในวันดังกล่าว และหวังว่าทุกคนจะแยกย้ายตอนยุติกิจกรรม ผู้สื่อข่าวอาจกำหนดขอบเขตว่านี่คือช่วงเวลาที่เกิดกิจกรรม เพื่อให้พฤติกรรมอันธพาลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นสามารถถูกประนามได้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหว
เป็นธรรมหรือไม่ที่ขบวนการต่อสู้ต้องทำทั้งหมดนี้เพื่อหลีกเลี่ยงภาพลักษณ์เชิงลบต่อสาธารณะ ไม่จำเป็นอยู่แล้ว หากมันเป็นธรรมพวกเราคงไม่ต้องไปปิดล้อมสถานีตำรวจตั้งแต่แรก แต่เราต้องทำสิ่งเหล่านี้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้คนในชุมชนร่วมกิจกรรมกับเรา มิใช่ผลักไสพวกเขาออกไป
Tom H. Hastings, long-time ICNC collaborator, is Coördinator of Conflict Resolution BA/BS degree programs and certificates at Portland State University (USA), PeaceVoice Senior Editor and on occasion an expert witness for the defense of civil resisters in court. He has written several books and many articles about nonviolence and other peace and conflict topics. He is a two-time Plowshares resister and a founding member of two Catholic Worker communities.
Read More